เมนู

[29] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไร
เป็นความดับแห่งเวทนา อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็น
ความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง
ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ
อยู่ซึ่งอะไร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีในรูป
ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ
ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่
เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร...
ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา... ในสัญญา... ในสังขาร... ใน
วิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทาน
จึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
ความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา
นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
จบ สมาธิสูตรที่ 5

อรรถกถาสมาธิสูตรที่ 5



ในสมาธิสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เสื่อมจากความเป็น

ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วทรงทราบว่า เมื่อภิกษุเหล่านี้ได้ความมีจิต
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานจักเจริญ ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
สมาธึ เป็นต้น บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่ย่อมปรารถนา. บทว่า อภิวทติ
ความว่า ภิกษุย่อมกล่าวด้วยความยินดียิ่งนั้นว่า แหมอารมณ์นี้ช่าง
น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ ดังนี้ อนึ่ง เมื่อเธอยินดียิ่งซึ่งอารมณ์นั้น
อาศัยอารมณ์นั้นทำให้เกิดความโลภขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ชื่อว่า
ย่อมกล่าวยกย่อง. บทว่า อชฺโฌสาย ติฏฺฐติ ได้แก่ กลืนเสร็จสรรพรับไว้.
บทว่า ยา รูเป นนฺทิ ได้แก่ ความเพลิดเพลินกล่าวคือความปรารถนา
ในรูปอย่างแรงกล้า. บทว่า ตทุปฺปาทานํ คือ ชื่อว่าอุปาทานเพราะอรรถ
ว่ายึดมั่นอารมณ์นั้น. บทว่า นาภินนฺทติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา. บทว่า
นาภิวทติ ความว่า เธอย่อมไม่กล่าวว่า อารมณ์น่าปรารถนา น่าใคร่
ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนา คือ ภิกษุผู้มีจิตใจประกอบด้วย
วิปัสสนาแม้เมื่อทำการเปล่งวาจาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็ชื่อว่าย่อม
ไม่กล่าวยกย่องทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาสมาธิสูตรที่ 5

6. ปฏิสัลลานสูตร



ว่าด้วยการหลีกเร้นเป็นเหตุเกิดปัญญา



[30] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียรใน
การหลีกออกเร้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลีกออกเร้น ย่อมรู้ชัด
ตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด